มะลิ (Jasmine.)
ดอกไม้ ดอกหนึ่งที่สีขาวบริสุทธิ์ดอกเล็กๆ ที่มีกลิ่นหอมชวนหลงอย่างมาก
"ดอกมะลิ" ถูกนำมาใช้เป็นดอกไม้สัญลักษณ์
"วันแม่" เพราะดอกมะลิเปรียบเสมือนความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีให้ลูกน้อยไม่มีวัน เสื่อมคลาย เหมือนกับความหอมของดอกมะลิที่หอมนาน และออกดอกตลอดทั้งปี นอกจากนี้ คนไทยยังนิยมนำดอกมะลิมาร้อยมาลัยบูชาพระ ดังนั้น ดอกมะลิ จึงเปรียบเสมือนการบูชาแม่ผู้มีพระคุณของลูก ๆ ทุกคน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร
: Plantae
ส่วน : Magnoliophyta
ชั้น
: Magnoliopsida
อันดับ
: Lamiales
วงศ์
(Family)
: Oleaceae
สกุล (Genus) : Jasminum
สปีชีส์
: J. sambac
ชื่อทวินาม
: 'Jasminum sambac' (L.) Aiton
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ลักษณะทั่วไป
มะลิเป็นพรรณไม้ยืนต้น และเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลางบางชนิดก็มีลำต้นแบบเถาเลื้อย
ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-3 เมตร
ผิวเปลือกลำต้นสีขาวมีสะเก็ดรอยแตกเล็กน้อย ลำต้นเล็กกลมแตกกิ่งก้านสาขาไปรอบ ๆ ลำต้น ใบเป็นใบเดียวแตกใบเรียงกันเป็นคู่ ๆ
ตามก้านและกิ่งลักษณะของใบมนป้อม โคนใบสอบเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ขนาดใบกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร
ออกดอกเป็นช่อ ออกตามส่วนยอดหรือตามง่ามใบ ดอกเล็กสีขาวมีกลีบดอกประมาณ 6-8 กลีบ
เรียงกันเป็นวงกลมหรือซ้อนกันเป็นชั้นแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ขนาดดอกบานเต็มที่ประมาณ 2-3 เซนติเมตรผลเป็นรูปกลมรีเล็กเมื่อสุกจะมีสีดำภายในมีเมล็ดอยู่1เมล็ดนอกจากนี้ลักษณะของลำต้นและดอกแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์
การเป็นมงคลของมะลิ
คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความรักความคิดถึงแก่บุคคลทั่วไปเพราะดอกมะลิเป็นดอกไม้ประจำวันแม่แห่งชาติซึ่งเป็นสัญลักณณ์แสดงถึงความรักของลูกต่อแม่และผู้ที่มีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณนอกจากนี้คนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า
บ้านใดปลูกต้นมะลิไว้ประจำบ้าน จะทำให้คนในบ้านมีความบริสุทธิ์ เพราะดอกมะลิมีสีขาวบริสุทธิ์ ขาวสะอาด
ซึ่งคนไทยนิยมใช้เป็นเครื่องสักการบูชาพระ
คุณค่าและคุณประโยชน์
คนสมัยก่อน
นอกจากจะนิยมปลูกดอกมะลิเอาไว้เป็นไม้ดอกไม้ประดับ
เพื่อชื่นชมกับดอกสีขาวสวยนุ่มนวลชวนมองแล้ว เขายังเก็บดอกมะลิตูมมาใส่พาน
หรือถ้ามีเวลาว่างพอก็จะนำมาร้อยเป็นมาลัยกราบบูชาพระอีกด้วย กลิ่นหอมอ่อน ๆ
อบอวลของดอกมะลิที่อยู่ในห้องพระ ให้ความรู้สึกสงบใจอีกต่างหาก
นอกจากนี้ยังนำดอกมะลิมาลอยในน้ำดื่มเย็น ๆ
ให้แขกผู้มาเยือนได้ดื่มกันอย่างชื่นอกชื่นใจ
หรือจะนำดอกมะลิไปลอยในน้ำเชื่อมกินกับขนมหวานไทย ก็ทำให้มีกลิ่นหอมชวนทาน
แต่ทั้งนี้ต้องมั่นใจว่า ดอกมะลิที่นำมาใช้ไม่ได้ฉีดยาฆ่าแมลง
ส่วนประโยชน์ทางสมุนไพรของมะลิก็มีแทบทุกส่วนก็ว่าได้
ไล่กันไปตั้งแต่รากเรื่อยไปจนถึงดอกทีเดียว รากของมะลิแก้ได้สารพัดโรค
ทั้งปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก เลือดออกตามไรฟัน รวมทั้งช่วยรักษาหลอดลมอักเสบได้ด้วย
หากนำรากมาฝนกินกับน้ำ แก้ร้อนในได้ดี คนที่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับทรวงอก
ให้นำรากมาประมาณ 1-1.5
กรัม ต้มน้ำกินก็ช่วยได้
ส่วนใบใช้แก้ไข้ที่เกิดจากอาการเปลี่ยนแปลงได้ดี
รวมทั้งรักษาอาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องเสีย หากนำใบมาตำแล้วละลายกับน้ำปูนใส
แต้มแผลฟกช้ำ แผลเรื้อรัง โรคผิวหนังจะหายไวขึ้น ตลอดจนช่วยบำรุงสายตา
และขับน้ำนมสตรีที่มีครรภ์ได้ด้วย
สุดท้ายคือส่วนของดอก ดอกมะลิ นอกจากความสวยและความหอมแล้ว
ยังแก้โรคบิด อาการปวดท้อง หากตำให้ละเอียดพอกที่ขมับ
แก้อาการปวดหัวและปวดหูชั้นกลางได้ แถมยังช่วยรักษาแผลพุพอง
แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย รวมทั้งเป็นยาบำรุงหัวใจได้อย่างดีเยี่ยมอีกขนานหนึ่งด้วย
การดูแลรักษา
การให้น้ำ มะลิต้องการน้ำปานกลาง ทั้งนี้อาจให้น้ำวันละ 1-2 ครั้ง ระวังอย่าให้น้ำขัง
การใส่ปุ๋ย ให้ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 อัตรา 1-3 ช้อนแกงต่อต้น ขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่ม ใส่เดือนละครั้ง โดยหว่านและรดน้ำตาม
การให้น้ำ มะลิต้องการน้ำปานกลาง ทั้งนี้อาจให้น้ำวันละ 1-2 ครั้ง ระวังอย่าให้น้ำขัง
การใส่ปุ๋ย ให้ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 อัตรา 1-3 ช้อนแกงต่อต้น ขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่ม ใส่เดือนละครั้ง โดยหว่านและรดน้ำตาม
การตัดแต่ง ควรตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งรวมทั้งตัดกิ่งที่แห้งตายออกด้วย เพื่อลดโรคและแมลง
โรคและแมลง - โรครากเน่า เกิดจากเชื้อรา เป็นโรคร้ายแรงชนิดหนึ่งซึ่งจะเกิดกับมะลิที่มีอายุมากกว่า 1 ปี อาการ มะลิจะเหลือง เหี่ยว และทิ้งใบ
- โรคแอนแทรคโนส เกิดจากเชื้อรา อาการ จะพบจุดสีน้ำตาลอ่อน บนใบขอบแผลเป็นสีน้ำตาลแก่เห็นเด่นชัด แผลจะขยายลุกลามออกไป มีลักษณะเป็นวงซ้อนกัน
- โรครากปม เกิดจากไส้เดือนฝอย การเกิดโรคนี้จะพบได้เฉพาะในบางพื้นที่เท่านั้น ต้นที่เป็นโรคนี้จะแสดงอาการเด่นชัดทางใบคือใบจะมีสีเหลืองด่าง ๆ ทั่วไปทั้งใบคล้ายกับการแสดงอาการขาดธาตุอาหารเนื่องจากไส้เดือนฝอยจะไปอุด ท่อน้ำท่ออาหารไว้เมื่อถอนต้นดูจะพบว่าที่รากมีปมเล็ก ๆ อยู่ทั่ว ๆ ไป ถ้าเฉือนปมนี้ดูจะพบถุงสีขาวเล็ก ๆ ขนาดเมล็ดผักกาดฝังอยู่ การป้องกันกำจัด ปลูกมะลิสลับกับพืชอื่น และใส่ปุ๋ยอินทรีย์มากขึ้น และใช้สารเคมีป้องกันกำจัด เช่น ฟูราดาน ไวเดท
- หนอนเจาะดอก ลักษณะลำตัวสีเขียวขนาดเล็ก ปากหรือหัวดำ ระบาดมากในฤดูฝน โดยการ กัดกินดอกทำให้ดอกผิดรูปร่างไป เป็นแผล เป็นรู การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีป้องกันกำจัด เช่น แลนเนต โบลสตาร์ ฉีดพ่น
- หนอนกินใบ จะระบาดมากในฤดูฝน โดยจะพับใบมะลิเข้าด้วยกัน แล้วซ่อนตัวอยู่ในนั้น และจะกัดกินทำลายใบไปด้วย การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมี ประเภทโมโนโครโตฟอส เช่น อโซดริน อัตรา 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 4-6 วัน เมื่อมีการระบาด
- หนอนเจาะลำต้น จะทำลายโดยการเจาะลำต้น ทำให้ต้นแห้งตาย อาการเริ่มแรกต้นจะมีใบเหลือง และหลุดร่วง ตรงบริเวณโคนต้น จะมีขุยไม้ที่เกิดจาก การกัดกินของตัวหนอนกองอยู่เห็นได้ชัดเจน การป้องกันกำจัด ถ้าพบต้องรีบทำลายโดยทันที โดยการถอนต้นมะลิและทำลายตัวหนอนเสีย
- เพลี้ยไฟ ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบและดอก ทำให้ส่วนที่ถูกทำลาย หงิกงอ แคระแกรน เสียรูปทรง การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีฉีดพ่น เช่น พอสซ์
การดูแลรักษามะลิ
แสง ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ครั้ง
ดิน ชอบดินร่วนซุย มีความชุ่มชื้นปานกลาง ระบายน้ำได้ดี
ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 5-6 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 200-300 กรัม / ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ครั้ง
ดิน ชอบดินร่วนซุย มีความชุ่มชื้นปานกลาง ระบายน้ำได้ดี
ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 5-6 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 200-300 กรัม / ต้น ใส่ปีละ 4-6 ครั้ง
การขยายพันธ์ การปักชำ การตอนกิ่ง การทาบกิ่ง
การแยกกอ วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การปักชำ การตอน
โรค รากเน่า (Sclerotium root rot)
โรค รากเน่า (Sclerotium root rot)
แมลง หนอนเจาะดอก
อาการ ใบเหลือง เหี่ยว ต้นแห้งตาย โคนต้นมีเส้นใยสีขาว
และดอกเป็นแผล เป็นรู ทำให้ดอกเสียรูปทรง และร่วง ดอกเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ
การป้องกัน ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของหนอนตัวแก่
การกำจัด ใช้ยาเมโธมิล หรือ เมธามิโดฟอส อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก
*************************************************
การปลูก
1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน ควรใช้กระถางทรงสูง ขนาด 8-14 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1:
1 :1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถางปีละครั้งเพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไปและเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่
ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป
2. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน โบราณนิยมปลูกบริเวณทางเข้าหน้าบ้าน เพื่อเป็นเสน่ห์แก่บ้าน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1: 1 ผสมดินปลูก
2. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน โบราณนิยมปลูกบริเวณทางเข้าหน้าบ้าน เพื่อเป็นเสน่ห์แก่บ้าน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1: 1 ผสมดินปลูก
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จัดทำโดย
นาย นิธิ พุทธรัตนะ เลขที่ 6
นายเอกวัชร ศรีชัย เลขที่ 9
นายเอกวัชร ศรีชัย เลขที่ 9
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2
เสนอ
คุณครู อุทัยวัน
โพธิศิริ
สื่อนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีววิทยาเพิ่มเติม ว 32243
โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม